รีวิว The Platform

รีวิว The Platform

รีวิว The Platform

 

หมวดหมู่ : ไซไฟ-ระทึกขวัญ

ผู้กำกับ : Galder Gaztelu-Urrutia (กัลเดอร์ กัซเตลู อูร์รูเดีย)

 

รีวิว The Platform เรื่องย่อ

ในเรือนจำแนวตั้งที่นักโทษชั้นบนได้อยู่ดีกินดี ขณะที่นักโทษชั้นล่างต้องอัตคัดขัดสน นักโทษชายอย่าง “โกเร็ง” (Iván Massagué) พยายามหาทางเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างความเท่าเทียมให้กับทุกคน

 

รีวิว The Platform

ผมว่าผมก็เป็นเหมือนหลาย ๆ ท่านนี่แหละครับที่พอได้ยินกิตติศัพท์ความแปลกของพล็อตหนังเรื่อง The Platform หรือในชื่อภาษาสเปนว่า El Hoyo (The Hole) แล้วก็เกิดความอยากดู เพราะมันเป็นพล็อตที่เด่นชนะหน้าหนัง ชนะทุกสิ่ง เอาจริง ๆ นักแสดงใครเล่นบ้างก็ยังไม่รู้ ใครกำกับก็ไม่รู้ ได้กี่ดาวก็ไม่รู้อีกนั่นแหละ แต่สนซะที่ไหนล่ะ อยากลองดูก่อน พอผมได้ยินว่าหนังเรื่องนี้จะเข้าฉายทาง Netflix คอหนังประหลาด ๆ อย่างผมก็เลยรู้สึกว่าอยากลองดูหนังเรื่องนี้บ้าง เรียกว่าพล็อตอย่างเดียวชนะทุกสิ่งจริง ๆ

เว็บดูหนัง    

นี่คือภาพยนตร์สัญชาติสเปนฝีมือการกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของ Galder Gaztelu-Urrutia (กัลเดอร์ กัซเตลู อูร์รูเดีย) ครับ แม้ว่าจะเป็นครั้งแรกแต่ประสบการณ์บอกเลยว่าไม่ไก่กา เพราะว่าเขานั้นมีประสบการณ์การทำหนังสั้น โฆษณา และเป็นโพรดิวเซอร์ภาพยนตร์มาก่อนหน้านี้แล้วตั้ง 15 ปี ซึ่งความคร่ำหวอดนี่แหละที่ส่งผลทำให้ในปีที่แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้เดินทางไปคว้ารางวัลมามากมาย ทั้งรางวัลขวัญใจผู้ชม Midnight Madness จากเทศกาล Toronto International Film Festival ประเทศแคนาดา รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมจากเทศกาล Sitges – Catalonian International Film Festival ประเทศสเปน แถมในเว็บมะเขือเทศเน่า Rotten Tomatoes ยังระบุว่าได้คะแนนมะเขือสดไปตั้ง 82% แน่ะ สำหรับการกำกับภาพยนตร์ครั้งแรก ถือว่าไม่ธรรมดา

 

สำหรับพล็อตของหนังเรื่องนี้ เป็นเรื่องของคุกนั่นแหละ จริงๆ มันก็ไม่ใช่คุกซะทีเดียวหรอกครับ มันเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ศูนย์ดูแลตนเองแนวตั้ง” คืออารมณ์สถานดัดสันดานอะไรแบบนี้มากกว่า แต่ในตัวมันก็เป็นคุกดี ๆ นี่เอง จุดเริ่มต้นมันเริ่มจากพระเอกอย่าง “โกเร็ง” (Iván Massagué) นั้นพาตัวเองเข้ามายังคุกแนวตั้งแห่งนี้ เมื่อเขาตื่นมาก็พบว่าเขานั้นได้มาอยู่ที่ชั้น 48 ร่วมกับชายชราอย่าง “ตรีมากาซี” (Zorion Eguileor) โดยตรีมากาซีเข้าคุกแห่งนี้มานานหลายเดือนแล้ว เพราะว่าฆ่าคนโดยไม่เจตนา ส่วนโกเร็งนั้นต่างออกไป เพราะว่าตั้งใจที่จะเลือกเข้าคุกนี้มาด้วยตัวเอง

 

รีวิว The Platform

 

และคุณผู้อ่านย่อมรู้อยู่แล้วใช่มั้ยครั้บว่าคุกนี้ไม่ธรรมดา เพราะมันเป็นคุกแนวตั้งที่มีชั้นลดหลั่นกันลงไป ในแต่ละชั้นจะมีนักโทษอาศัยอยู่ 2 คน และวิธีการจัดการกับคุกนี้ก็คือการควบคุมด้วยอาหาร คือในแต่ละชั้นจะมีช่องบนเพดานและพื้น เพื่อให้แท่นวางอาหารเคลื่อนผ่านลงไป

 

โดยในแท่นนั้นจะมีอาหารคาวหวาน ผลไม้หลากชนิดและเครื่องดื่มสารพัดอย่างวางไว้รวมกัน ในแต่ละวัน แท่นนี้จะค่อย ๆ เคลื่อนลงไปเพื่อส่งอาหารให้กับคนแต่ละชั้น นั่นก็แปลว่าคนที่ชั้นบน ๆ จะได้มีโอกาสกินของดี ๆ เลือกกินได้อย่างใจ อาหารก็สดใหม่สะอาดปลอดภัย ส่วนคนชั้นล่างลงไปก็ต้องกินของเหลือ ๆ ต่อกันไปเรื่อย ๆ

 

 

อันที่จริงแม้เราจะยังไม่รู้แต่แรกว่าคุกแนวตั้งนั้นมีกี่ชั้นกันแน่ แต่ที่ผมว่าน่าจะเดาได้แต่แรกคือ อาหารมักไปไม่ถึงชั้นล่าง ๆ หรอกครับ ยังไงก็มักจะถูกกินหมดก่อนตลอด และอย่าคิดจะกักตุนอาหารโดยเด็ดขาด เพราะว่าอุณหภูมิห้องขังจะเปลี่ยนไป อาจจะร้อนจนไหม้เกรียมหรือเย็นเยือกจนแข็งตาย

เว็บหนัง 

 

ในแต่ละวัน โกเร็งและทุกคนในคุกแนวตั้งนี้ก็มีชีวิตในคุกนี้เหมือนเดิม คือแท่นวางอาหารลงมาวันละครั้ง มีอะไรก็ต้องกิน พอแท่นเลื่อนลงก็หมดเวลา พอถึงกลางคืนก็ต้องนอนภายใต้แสงสีแดง พร้อมกับเสียงแท่นวางที่ดีดตัวกลับขึ้นไปด้านบนด้วยความเร็วสูง พร้อมกับถูกรมแก๊สเพื่อทำให้หลับ จนกระทั่งเมื่อเข้าสู่เดือนใหม่ คนทั้งสองก็จะถูกย้ายไปชั้นใหม่ โดยที่ชะตากรรมของคนทั้งคู่อาจจะได้ขึ้นไปอยู่ชั้นที่สูงขึ้น ได้กินอาหารที่ดีกว่าคนอื่น ๆ หรือลงไปอยู่ชั้นล่างซึ่งอาจจะไม่ได้กินอะไรเลยเพราะอาหารไปไม่ถึง รวมถึงความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็อาจเปลี่ยนไปแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะว่าในคุกนี้ ความสัมพันธ์หรือมิตรภาพ หรือความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นอาจไม่สำคัญเท่ากับการอยู่รอดให้ครบกำหนด และรับใบรับรองเพื่อออกไปสู่อิสรภาพ

 

ความน่าสนใจ

คือ ตลอดทั้งเรื่อง เราจะแทบไม่ได้เห็นบรรยากาศภายนอกเลย จริง ๆ ก็มีฉากภายนอกคุกให้เห็นบ้างแหละ แต่ถือว่าน้อยมาก แต่ไม่มีฉาก Outdoor ใด ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว อย่างเต็มที่ เราก็จะได้เห็นบรรยากาศของห้องครัวที่คอยทำอาหารเลี้ยงคนในคุกแนวตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ชั้นบนสุด กับภายนอกคุกตอนที่โกเร็งกำลังให้สัมภาษณ์กับ “อิโมกิริ” (Antonia San Juan) เจ้าหน้าที่หญิงที่คอยทำหน้าที่สัมภาษณ์และตรวจเช็กทุก ๆ คนที่จะเข้าไปอยู่ในคุกแนวตั้งนี้เท่านั้นเอง

 

 

ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ดูมีความเป็นหนังเขย่าขวัญขึ้นมาทันที โอเค แม้ว่าคุกแนวตั้งและการกินอาหารเหลือ ๆ นั้นจะดูน่ากลัว น่าขยะแขยงเพียงใด แต่เหตุผลของโกเร็ง ที่ต้องการเดินเข้ามายังคุกแห่งนี้เพียงเพราะเหตุผลอะไรบางอย่าง และเลือกของติดตัวเป็นเพียงหนังสือ “Don Quixote de la Mancha” (ดอนกิโฆเต้ แห่งลามันช่า เขียนโดย มิเกล เด เซร์บันเตส) ติดตัวเข้ามาเพียงเล่มเดียวนั้น ต้องเผชิญกับความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องน่ากลัว เขย่าขวัญ (และน่าขยะแขยง) กว่าตัวคุกซะอีก การกินอาหารแบบไม่บันยะบันยังโดยไม่คิดถึงว่าคนข้างล่างจะเหลืออะไรให้กินบ้าง การมองตัวเองเป็นเพียงคนที่จำนนกับกับระบบ (หรือระบอบ) การพินอบพิเทากับสถานะของตัวเองโดยไม่ปริปากบ่นเพราะกลัวว่าตัวเองจะเอาตัวไม่รอด จนลามไปถึงความโหดร้ายป่าเถื่อนที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ด้วยกัน พร้อมที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ตัวเองนั้นรอด เมื่อมาอยู่รวมกันในคุกปิดตาย มันเป็นอะไรที่น่ากลัวสุด ๆ ไปเลยครับ

รีวิวหนัง   

 

แต่เอาจริง ๆ เรื่องราวของโกเร็งกับตรีมากาซีนั้นเรียกได้ว่าแทบจะเป็นแค่องก์แรก ๆ เลยด้วยซ้ำ เพราะว่าสุดท้ายนั้นมันมีเหตุการณ์ที่เกิดขี้นอย่างรุนแรงมากเมื่อทั้งคู่ต้องถูกย้ายเปลี่ยนชั้น (ตรงนี้ผมขอไม่สปอยล์นะครับ) แต่เอาเข้าจริงแล้ว ตัวละครที่ทำให้ตัวละครนิ่ง ๆ อย่างโกเร็งได้เกิด Movement อะไรบางอย่าง กลับเป็นหญิงสาววิกลจริตนามว่า “มิฮารุ” (Alexandra Masangkay) และชายผิวสีที่ชื่อ “บาฮารัต” (Emilio Buale Coka) ต่างหาก

 

มิฮารุคือหญิงสาววิกลจริตที่อาศัยแท่นอาหารเป็นพาหนะ โดยอ้างว่าเธอนั้นกำลังตามหาลูก ซึ่งด้วยความที่เธอนั้นเป็นผู้หญิง เธอจึงมักจะถูกย่ำยีอยู่บ่อย ๆ จนไม่ไว้ใจใคร ในมือเธอก็เลยมักจะถือมืดไว้ตลอดเวลา แล้วก็พร้อมที่จะฆ่าใครก็ได้เพื่อป้องกันตัวและเอาตัวรอด แต่เมื่อเกิดเหตุอะไรบางอย่างที่โกเร็งได้เข้าไปช่วยเธอไว้ เธอจึงรู้สึกไว้ใจเขา ส่วนบาฮารัตนั้นเป็นชายผิวสีที่ได้เข้ามาอยู่กับโกเร็งในภายหลัง เขามีเชือกติดตัวไว้ตลอด เพราะเขาต้องการที่จะปีนหนีออกจากคุกโดยขอความช่วยเหลือจากคนข้างบน จนสุดท้ายเขากับโกเร็งนี่แหละที่ตัดสินใจใช้แท่นวางอาหารในการเดินทางเพื่อค้นพบความลับอะไรบางอย่าง

 

 

ด้วยการเล่าเรื่อง หนังเรื่องนี้เป็นหนังไซไฟ-ดิสโทเปีย-ทริลเลอร์ ที่ลุ้นระทึกมาก เป็นบรรยากาศที่มาครบทั้ง ไซไฟ ดิสโทเปีย และทริลเลอร์จริง ๆ เป็นหนังที่ผมไม่สามารถเดาได้ว่าจะเกิดอะไรต่อไป ทุกอย่างเกิดขึ้นและเป็นไปได้ทั้งนั้น มีความหักมุมพลิกล็อกได้ตลอดทั้งเรื่อง ยิ่งดูก็ยิ่งได้รู้อะไรลึกลงไปเรื่อย ๆ รวมทั้งบรรยากาศความทันสมัยและลึกลับของคุก ผสมผสานกับความไม่น่าไว้วางใจของคนในคุกทั้งหลาย ที่ไม่อาจเดาได้เลยว่าใครดีใครร้าย ทุกอย่างดูอึมครึมไปหมด

 

 

และแน่นอนว่าพอหนังพูดถึงเรื่องของอาหาร ความขยะแขยงเรียกได้ว่าจัดเต็มมาก ไม่มีความเป็น Food Porn เลย คือถ้าใครเป็น Conservative ประเภทที่ว่าห้ามปีนโต๊ะอาหาร ห้ามเหยียบอาหาร ห้ามเล่นอาหาร ห้ามจับอาหารด้วยมืออาจจะมีกรี๊ด เพราะมันมีอะไรที่ขยะแขยงมากกว่านั้นมาก! แถมยังมีอะไรแหวะ ๆ อีกเพียบ (คือถ้าในคุกนั้นมีไวรัสโคโรนา ไม่ต้องสืบเลยว่าติดกันทุกชั้นแน่นอน 555) นี่ยังไม่นับรวมถึงภาพและการกระทำรุนแรงต่าง ๆ ที่โหดร้ายป่าเถื่อนสุด ๆ อีกต่างหาก แนะนำว่าเอาเด็กออกห่างจากหนังเรื่องนี้ไปเลยดีกว่าครับ

 

รีวิว The Platform

 

แม้ว่าตัวหนังจะเล่าเรื่องของคุกแนวตั้ง ดูมีความเป็นไซไฟก็จริง แต่สิ่งที่ผมรู้สึกคือตัวหนังฉลาดมาก ๆ ในการให้บรรยากาศของหนังมีความเป็นดิสโทเปียที่แอบแทรกประเด็นต่าง ๆ คือใช้ความเป็น High Concept ของหนังส่งผ่านประเด็นยาก ๆ ได้อย่างชาญฉลาด เกือบทุกจุดในหนังสามารถแฝงเรื่องราวให้ตีความได้หลายแง่มุมมาก ๆ ทั้งเรื่องเล็ก ๆ อย่างความสัมพันธ์ของชีวิตคนเราที่จริง ๆ แล้วก็ล้วนเป็นสิ่งชั่วคราว ไม่อาจยึดถืออะไรเป็นจริงจังได้ การอยู่ร่วมกันในสังคม การแบ่งปันและการเอาเปรียบ การเพิกเฉยต่อปัญหาและความไร้ระเบียบของสังคม หรืออาจเลยเถิดไปถึงเรื่องการเมืองของคนที่อยู่ภายใต้ระบอบ และการลุกขึ้นมาปฏิวัติระบอบของคนตัวเล็ก ๆ (แหม…ช่างเข้ากับสถานการณ์แถว ๆ นี้ซะเหลือเกิน)

 ดูหนัง

เรื่องของทรัพยากรธรรมชาติที่มีแต่คนระดับสูงเท่านั้นที่ได้มีโอกาสใช้มากมาย ใช้จนเหลือแค่ซากเศษเดนให้กับคนชั้นล่าง ๆ รวมไปถึงเรื่องของชนชั้นทางสังคม ที่แม้ว่าอาจจะไม่ได้คมคายและลุ่มลึกเท่า Parasite (2019) แต่มันก็เล่าเรื่องนี้แบบตรง ๆ ได้ดีพอสมควร รวมไปถึงเรื่องละเอียดอ่อนอย่างเรื่องศาสนา ที่โกเร็งกับบาฮารัตนั้นตัดสินใจร่วมกันลุกขึ้นมาเปลี่ยนระบบ จนมีสถานะคล้ายกับ “พระผู้ไถ่” ที่อาจต้องยอมสละชีพตนเพื่อคนหมู่มาก เพื่อนำ “สาร” อะไรบางอย่างไปบอกกับคนด้านบนว่า ที่ด้านล่างนี้มีอะไรไม่ชอบมาพากลอยู่ เป็นการต่อสู้กับระบบที่พังทลายแต่เพียงลำพัง โดยที่บางทีก็แทบจะไม่มีความหวังอะไรให้ยึดเหนี่ยว และบางทีก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะสำเร็จหรือไม่ เขาจะต้องต่อสู้กับระบบจนตัวตาย หรือในที่สุด เขาเองนั่นแหละก็อาจจะต้องยอมจำนน หุบปาก และนั่งเฝ้ามองความฉิบหายวายป่วงของระบบนั้นไปทีละนิด ๆ

 

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *